ประโยชน์ที่ได้รับ

1. สถาบันการศึกษา ตลอดจนนักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าใจความหมายเหตุผลและความจำเป็นของแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน “Blue Economy” ในลักษณะองค์รวม (Holistic view) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชนและหน่วยงานระหว่างประเทศ รวมทั้งต้องร่วมกันส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินให้กว้างขวาง โดยกำหนดเป็นนโยบายและนำลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

2. สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ กองทัพเรือ ในการรักษาความมั่นคงทางทะเลกว้างและลึกขึ้นกว่าเดิมว่า กองทัพเรือมีธรรมชาติการเตรียมและใช้กำลังที่แตกต่างจาก กองทัพบกและ กองทัพอากาศซึ่งทำหน้าที่ดูแลด้านความมั่นคงของประเทศบนผืนดินเป็นหลัก แต่ กองทัพเรือดูแลทั้งด้านความมั่นคงและความมั่งคั่งที่มาจากทะเลและพื้นที่ทางบกที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นบทบาทของ กองทัพเรือในศตวรรษที่ 21 จึงนับเป็นความท้าทายที่สำคัญของไทย ในฐานะประเทศที่มีพื้นที่อาณาเขตทางทะเลกว่า 314,000 ตร.กมหาวิทยาลัย จะใช้ กองทัพเรือและกลไกทางทะเลของไทยในการปกป้องทะเลในภาพรวมและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสังคมระหว่างประเทศอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

3. สถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารระดับสูง คณาจารย์ นักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญ โดยเข้าใจถึงหน่วยงานทางทะเลที่มีหลากหลายหน่วยงาน ดังนั้นการแก้ปัญหาความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) ให้ได้อย่างยั่งยืนนั้น จะมีกลไกของหน่วยงาน ศรชล. ที่สามารถบูรณาการขีดความสามารถของหน่วยงานความมั่งคงทางทะเล 6 หน่วยงาน ให้เป็นเอกภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. กำลังพลใน กองทัพเรือ ผู้เข้าร่วมการเสวนา ได้เข้าใจและตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ปัญหาสภาพแวดล้อมทางทะเลที่เปลี่ยนแปลงไป และสิ่งที่จะเป็นผลกระทบต่อมนุษย์ในอนาคต ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากข้อมูลและสถิติในปัจจุบันที่ผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้นำเสนอ โดยปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินนั้น ทั้ง 3 สถาบัน มีข้อเสนอแนะว่า ควรให้ กองทัพเรือเป็นหน่วยงานหลักดำเนินงานในลักษณะสร้างความร่วมมือและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทั้งความร่วมมือภายในและต่างประเทศในลักษณะ “ร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผนและทำงาน แบ่งปันความรู้และประโยชน์ที่จะได้รับ ร่วมกันกำกับดูและติดตามประเมินผล”

5. ทำให้ทราบถึงแนวทางที่ กองทัพเรือ จะต้องให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และร่วมกันแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมทางทะเล เนื่องจาก กองทัพเรือเป็นหน่วยงานหนึ่งในฐานะที่ใช้ประโยชน์จากทะเล จึงต้องมีความรับผิดชอบร่วมกับภาคอื่น ๆ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวนี้นับว่านอกเหนือจากงานโครงการโดยปกติที่ กองทัพเรือ ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันตามข้อ 4.

6. สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นในการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ซึ่งปัจจุบัน กองทัพเรือดำเนินการผ่านโครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลและพืชทะเลต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน กองทัพเรือพื้นที่ต่าง ๆ

7. ทำให้ทราบถึงแนวคิด และมุมมองของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทะเล การอนุรักษ์ทะเล และทรัพยากรในทะเล โดย กองทัพเรือสามารถนำแนวคิดและมุมมองของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ มาปรับแผนการเตรียมกำลังและใช้กำลังทางเรือได้ต่อไป